ข้อคิดธรรมะ ซินแสขอแนะนำ

กรณียเมตตสูตร (บทเมตตัญจะ) หรือ กรณียเมตตปริตร 

กรณียเมตตสูตร (บทเมตตัญจะ) หรือ กรณียเมตตปริตร 

สวดแล้วเทวดารักษา ภูตผีปีศาจไม่รบกวน

ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน

เรื่องมีว่า สมัยหนึ่งจวนเข้าพรรษา ภิกษุจำนวนหนึ่งกราบทูลลาพระพุทธเจ้า เพื่อไปอยู่จำพรรษาในป่าลึกแห่งหนึ่ง เหล่ารุกขเทวดาคิดว่าพระคุณเจ้าคงพักชั่วคราว ไม่กี่วันก็จะไป จึงพากันลงมาอยู่บนพื้นดินเพื่อถวายความเคารพแก่พระสงฆ์

แต่เมื่อรู้ว่าพระคุณเจ้าจะอยู่ที่ป่านี้ตลอดพรรษา จึงปรึกษากันว่าพวกเราเห็นจะต้อง"ไล่" พระท่านไป ไม่เช่นนั้นจะลำบากมากที่จะต้องมาอยู่บนพื้นดินอย่างนี้ จึงพร้อมใจกันหลอกหลอนภิกษุที่ไปนั่งกรรมฐานอยู่ใต้ต้นไม้บ้าง ในถ้ำบ้าง จนท่านอยู่ไม่เป็นสุข พระก็กลัวผี ว่าอย่างนั้นเถอะ จึงตกลงกันกลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ 

พระพุทธองค์ตรัสว่า "พวกเธอมิได้เอาอาวุธติดตัวไปด้วย จึงถูกผีหลอกหลอน" เมื่อกราบทูลถามว่า อาวุธชนิดไหน พระองค์ก็ตรัสว่า อาวุธคือความเมตตา ว่าแล้วก็ทรางสวด กรณียเมตตสูตร ให้ฟัง แล้ว มีพุทธบัญชาให้กลับไปยังป่านั้นอีก และให้สวดทันทีที่เดินเข้าป่า และสวดทุกวัน

ภิกษุเหล่านั้นก็ทำตามพุทธโอวาท บรรดาผีสางคางแดงทั้งหลายได้ยินบทสวด ก็มีจิตใจอ่อนโยน รักใคร่ในพระสงฆ์ ไม่หลอกหลอน ทำให้ท่านสามารถอยู่ในป่าได้อย่างผาสุก พระภิกษุได้สัปปายะ เจิรญธรรมสำเร็จอรหันตผลถ้วนทั่วกัน เพราะเหตุว่าเนื้อหาของบทสวดเป็นการแผ่เมตตาความรัก ปรารถนาดีแก่เหล่าเทวดาในป่าและแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งท่านก็จะมีไมตรีจิตตอบและถวายการอารักขาให้ผาสุกกัน

จึงกลายเป็นธรรมเนียมว่าเมื่อผ่านศาลเจ้าเทพารักษ์หรือไม้วนปติ ที่มีชนนับถือพึงให้ภิกษุเจริญสามีจิกรรมเจริญเมตากรียสูตร…บ้างเรียกมนต์ขับผี ปัจจุบันนำไปสวดรวมกับเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เรารับฟังเนืองๆแต่ไม่เข้าใจความหมาย บทนี้ใช้ได้ดีทีเดียวเวลาไปนอนป่าหรือที่ไม่คุ้นชินทำให้นอนหลับง่ายและทำให้จิตสงบได้ 

กรณียเมตตสูตร

1. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ . . . . . . . ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ . . . . . . . . . . . . สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
กิจที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำ
ก็คือ เป็นคนกล้า, เป็นคนซื่อ, เป็นคนตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่เย่อหยิ่ง

2. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ . . . . . . . .อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ . . . . . . . . อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีภาระกิจน้อย, คล่องตัว, ระมัดระวังการแสดงออก, 
รู้ตัว, ไม่คะนอง, ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย

3. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ . . . . . เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ . . . . . . . . . . . . สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้, พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง 
จงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด

4. เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ . . . . . . . . . . ..ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา . . . . . . . . . . .มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ขอสัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม เป็นสัตว์มีลำตัวยาว หรือลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลาง หรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม

5. ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา . . . . . . . . . เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา . . . . . . . . . . . . .สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้ว หรือกำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด

6. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ . . . . . . . . .นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ์ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา . . . . . . .นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ไม่ควรมุ่งร้ายต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน

7. มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง . . . . . . . . . . อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ . . . . . . . . . . . . . . มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ดุจดังมารดาถนอม และปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิตฉันนั้น

8. เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์มิง . . . . . . . . .มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ . . . . . . . . . . อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
พึงแผ่เมตตาจิต ไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ

9. ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา . . . . . . . . . . . สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ . . . . . . . . . . พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ตลอดเวลาที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติ อันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ เป็นพรหมวิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ)

10. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา . . . . .ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง . . . . . . . . . . . . . .นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ
ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้