ความสัมพันธ์ ห้าธาตุ ในเชิงเกื้อหนุน ข่มบัญชา โดยศึกษาผ่านระบบ แพทย์แผนจีน

5ธาจตุ

 

ทฤษฏีปัญจธาตุ จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ยิน-หยางจะควบคุมและเป็นส่วนประกอบ ของสรรพสิ่งในจักรวาล สรรพสิ่งยังประกอบด้วยธาตุทั้งห้า คือ ไม้ ไฟ ดิน ทอง และน้ำ มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลจึงมีลักษณะของธาตุทั้งห้าอยู่ใน ร่างกายอย่างมีกฏเกณฑ์แน่นอน

ธาตุไม้(木) มีลักษณะพิเศษ คือ เกิดใหม่ได้ เจริญเติบโตได้ และอ่อนนุ่ม ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี
ธาตุไฟ(火) มีลักษณะพิเศษ คือ ร้อน ได้แก่ หัวใจ ลำไส้เล็ก
ธาตุดิน(土) มีลักษณะพิเศษ คือ ให้กำเนิดแก่สรรพสิ่ง ได้แก่ ม้าม กระเพาะอาหาร
ธาตุโลหะ(金) มีลักษณะพิเศษ คือ สะอาด บริสุทธ์ แข็ง และมีความสามารถในการดูดซับ ได้แก่ ปอด ลำไส้ใหญ่
ธาตุน้ำ(水) มีลักษณะพิเศษ คือ ทำให้เกิดความชื้นชื้น ไหลลงสู่ที่ต่ำ ได้แก่ ไต กระเพาะปัสสาวะ

นอกจากธาตุทั้งห้าจะมีอยู่ในอวัยวะของร่างกายแล้ว ยังมีอยู่ในทวาร ต่างๆ เนื้อเยื่อ เสียง อารมณ์ สี กลิ่น รส และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ฤดูกาล อากาศและทิศทางเป็นต้น

ธาตุทั้งห้าจะมีความสัมพันธ์ต่อกันใน 2 ลักษณะคือ การสร้าง (生) และการข่ม (克)

การสร้าง (生) หมาย ถึงการหนุนเนื่องให้มีการเกิดและการพัฒนา ธาตุที่เป็นตัวสร้างถือเป็น ธาตุ”แม่ (母)” ส่วนธาตุที่ถูกสร้างถือว่าเป็นธาตุ “ลูก(子)” ตัวอย่างเช่น น้ำ สร้างไม้ น้ำจึงเป็นแม่ของไม้ และไม้เป็นลูกของน้ำ แต่ไม้สร้างไฟ ไม้ จึงเป็นแม่ของไฟและไฟเป็นลูกของไม้ ดังนี้
ไม้ สร้าง ไฟ 木生火—— ( ตับ เป็นที่เก็บสะสมเลือด ส่งไปเลี้ยงที่ หัวใจ )
ไฟ สร้าง ดิน 火生土—— ( หัวใจ ช่วยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงที่ ม้าม)
ดิน สร้าง ทอง 土生金—— ( ม้าม ทำหน้าที่สร้างเลือดและลมปราณไปหล่อเลี้ยง ปอด )
ทอง สร้าง น้ำ 金生水—— ( ปอด มีลมปราณจากปอดกระจายลงไปช่วยการทำงานของ ไต )
น้ำ สร้าง ไม้ 水生木—— ( ไต มีสารจำเป็นที่สะสมอยู่ในไตสามารถเปลี่ยนเป็นเลือดและไปสะสมอยู่ที่ ตับ )

การข่ม (克) หมายถึงการคุม หรือกดกันไว้ ซึ่งมีลักษณะดังนี้
ไม้ ข่ม ดิน 木克土—— ( ลมปราณ ตับ มักแผ่ซ่าน สามารถกระจายลมปราณ ม้าม ที่ติดขัดได้)
ดิน ข่ม น้ำ 土克水—— ( ม้าม ดูดซึมอาหารและน้ำ ป้องกันน้ำของ ไต ไม่ให้สะสมมากเกินไป)
น้ำ ข่ม ไฟ 水克火—— ( น้ำจาก ไต ขึ้นไปควบคุม หัวใจ ไม่ให้ร้อนแรงเกินไป )
ไฟ ข่ม ทอง 火克金—— ( ไฟหยางของ หัวใจ สามารถควบคุมไม่ให้ลมปราณจาก ปอด กระจายลงมากเกินไป )
ทอง ข่ม ไม้ 金克木—— ( ลมปราณจาก ปอด กระจายลง ป้องกันหยางของ ตับ ไม่ให้เพิ่มมากเกินไป )

การสร้างและการข่มจะดำเนินควบคู่สัมพันธ์กันในลักษณะสมดุล เพื่อทำให้สิ่ง ทั้งหลายเกิดขึ้น เจริญเติบโต ทรงตัวอยู่ได้ และตายไป หากสมดุลถูก ทำลาย ความผิดปกติจะเกิดขึ้น

ทฤษฎี ปัญจธาตุนี้นำมาประยุกต์อธิบายในการจำแนกโรค และใช้เป็นแนวทางการรักษา เช่น โรคตับ (ธาตุไม้) อาจถ่ายทอดไปยังหัวใจได้ (ธาตุไฟ) เพราะธาตุไม้ สร้างธาตุไฟ หรือแม่ป่วยแล้วลูกป่วยตาม โดนอาจจะย้อนกลับไปหาธาตุน้ำได้ คือป่วยเป็น โรคไตได้อีก เพราะธาตุน้ำสร้างธาตุไม้ ดังนั้นการรักษาต้องติดตามไปถึง อวัยวะที่เป็นแม่ และอวัยวะที่เป็นลูกของอวัยวะที่เป็นโรคด้วยเสมอ

นอกจากการสร้างและการข่มแล้วยังมีปรากฏการณ์อีก 2 ลักษณะคือ การข่มเกิน (乘) และการข่มกลับ (侮)

การข่มเกิน(乘) หมายถึง การฉวยโอกาสที่ตนแข็งแกร่งขึ้น หรืออีกฝ่ายอ่อนแอลง ช่มอีกฝ่ายมากเกินกว่าเคยข่มในภาวะปกติ
การข่มกลับ(侮) หมาย ถึง ปรากฏการณ์ที่ธาตุหนึ่งเคยเป็นฝ่ายถูกข่ม แต่กลับมีความแกร่งมากขึ้น มากจนสามารถข่มกลับธาตุเดิมได้ เช่น ปกติธาตุทองข่มธาตุไม้ และธาตุไม้ ข่มธาตุดิน หากมีภาวะใดที่ธาตุไม้แกร่งขึ้นมาก จะมีการข่มเกินต่อธาตุ ดิน และสามารถที่จะข่มกลับธาตุทองได้ การข่มเกินและข่มกลับมีกฏเกณฑ์แน่ นอน ธาตุที่สามารถข่มเกินธาตุอื่นได้ต้องแกร่งกว่า ส่วนธาตุที่ถูกข่มกลับ ต้องเป็นธาตุที่พร่อง

ทฤษฏีอวัยวะตัน-อวัยวะกลวง (脏腑学说)

ตามทฤษฎีแพทย์จีนแบ่งอวัยวะออกเป็น 2 พวกคือ
1. อวัยวะภายตันทั้ง 5(五 脏)ได้แก่ ตับ (肝) หัวใจ (心) ม้าม (脾) ปอด (肺) ไต ( 肾) อวัยวะภายในทั้งห้า จัดว่าเป็น阴 มีหน้าที่สร้างและเก็บสารจำเป็น แต่ไม่ทำหน้าที่กำจัด สะสม สารจำเป็นของชีวิตและควบคุมการไหลเวียนของพลังลมปราณและเลือด นอกจากนี้ยัง นับรวมถุงหุ้มหัวใจ(心包)ด้วยเป็นอวัยวะตันอีกชนิดหนึ่ง
2. อวัยวะกลวงทั้ง 6 (六 腑)ได้แก่ ถุงน้ำดี (胆) ลำไส้เล็ก (小肠) กระเพาะอาหาร (胃) ลำไส้ใหญ่ (大肠) กระเพาะปัสสาวะ (膀胱) และซานเจียว (三焦) อวัยวะกลวงทั้งห้า จัดว่าเป็น阳ทำหน้าที่เกียวกับการย่อย ดูดซึมและขับถ่าย
3. อวัยวะกลวงพิเศษทั้ง 6(奇 恒之府)ได้แก่ สมอง (脑) ไขสันหลัง (髓) กระดูก (骨) เส้นเลือด (脉) ถุงน้ำดี (胆) มดลูก (女子胞) เนื่องจากภายในมีลักษณะกลวงเหมือนอวัยวะกลวง และทำหน้าที่เก็บสะสมสารจำเป็นและลมปราณเหมือนอวัยวะตันจึงเรียกว่าเป็น อวัยวะกลวงพิเศษทั้งหก และจัดว่าเป็น阴
อวัยวะตันและกลวงจะแบ่งเป็นยิน-หยาง และจะมีความสัมพันธ์เป็นคู่ๆ โดยมีเส้นลมปราณเชื่อมโยงอยู่ระหว่างคู่กัน กล่าวคือ ตับคู่กับถุง น้ำดี หัวใจคู่กับลำไส้เล็ก ม้ามคู่กับกระเพาะอาหาร ปอดคู่กับลำไส้ ใหญ่ ไตคู่กับกระเพาะปัสสาวะ เยื่อหุ้มหัวใจกับซานเจียว

ตับ มีหน้าที่
1. 藏 血,调节血量 สะสมเลือด และปรับปริมาณเลือดให้คงที่ เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว เลือดจากตับจะไหลไปยังเส้นลมปราณต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของร่าง กาย เมื่อร่างกายหยุดพักเลือดจะไหลกลับมาสะสมในตับ
2. 主 流泄แผ่ซ่านลมปราณให้ทั่วถึงตลอดภายในร่างกาย ช่วยควบคุมการไหลเวียนของลม ปราณและเลือด และของเหลวในร่างกายให้เป็นไปอย่างสมดุล ตลอดจนควบคุมในด้าน จิตใจและอารมณ์
3. 主筋,其华在爪ตับกำหนดเส้นเอ็นและเล็บ เพราะต้องอาศัยเลือดมาหล่อเลี้ยง
4. 开窍于目ตาเป็นประตูของตับ เพราะต้องอาศัยเลือดมาหล่อเลี้ยง
5. ตับสัมพันธ์กับถุงน้ำดี
ถ้า ตับผิดปกติจะมีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่นความโกรธและอารมณ์ผันผวน ได้ ปวดเสียวแน่นสีข้าง ตาแห้ง มองไม่ชัด มองไม่เห็นตอนกลางคืน ตาจะ บวมแดง สู้แสงไม่ได้น้ำตาไหล ลมตับมีอาการหน้ามืด วิงเวียน ตาลาย ลิ้น สั่น ร่างกายแขนขาชา กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริว จุกแน่นใต้ลิ้นปี่ เพราะพลังตับถูกขัดขวาง
หัวใจ มีฐานะเป็นตัวนำของอวัยวะภายในทั้งหมด (五脏六腑之大主)และทำงานร่วมกับ “ถุงหุ้มหัวใจ” หน้าที่ของหัวใจมีหน้าที่ดังนี้คือ
1. 主血脉กำหนดชีพจร ควบคุมการไหลเวียนของเลือด สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆทั่วร่างกาย
2. 主 神志ควบคุมความรู้สึกนึกคิดและจิตใจกหัวใจ แล้วแตกแขนงกระจายไปทั่วร่างกาย ที่ใบหน้ามีเส้นเลือดมากมาย ดังนั้นสีของใบหน้าสามารถบอกถึงการทำงานของหัวใจ ว่าหัวใจมีแรงสูบฉีดเลือดและมีปริมาณเลือดเพียงพอหรือเปล่า
3. 舌 为心之苗窍 ลิ้นเป็นอวัยวะเชื่อมโยงหัวใจอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเลือดและลม ปราณไหลเวียนผ่านหัวใจส่งไปหล่อเลี้ยงที่ลิ้น โดยเฉพาะที่ปลายลิ้น
4. สัมพันธ์กับลำไส้เล็ก
ถ้า หัวใจผิดปกติจะมีอาการสีหน้าซีดเผือก ลิ้นซีด ชีพจรเบาไม่สม่ำเสมอ ใจสั่น หายใจขัด เหงื่อออก พบในเลือกหรือพลังหัวใจ ไม่พอ ด้านสติสัมปชัญญะถ้าเลือดหัวใจไม่พอจะนอนไม่หลับ ฝัน ตกใจ ขี้ ลืม ถ้าพลังมากเกินจะกระวนกระวาย นอนหลับไม่สนิท

ม้าม เป็นส่วนสำคัญของพลังหยางในร่างกาย หน้าที่ของม้ามมีดังนี้คือ
1. 主 运化, 生血ควบคุมการย่อยและดูดซึมสารอาหาร อาหารเมื่อถูกย่อยที่กระเพาะอาหาร แล้วม้ามจะลำเลียงสารจำเป็นไปสู่ปอดเพื่อส่งไปทั่วร่างกาย และสารจำเป็น ที่ได้จะเป็นพื้นฐานในการสร้างเลือด ม้ามยังทำหน้าที่ปรับดุลการใช้และขับ ถ่ายของเหลวในร่างกายอีกด้วย ถ้าม้ามชื้น(พร่อง)จะเกิดการคั่งน้ำหรือท้อง ร่วงได้ เนื่องจากม้ามชอบแห้งกลัวชื้น (喜燥恶湿)
2. 主 统血ควบคุมการไหลเวียนเลือด ให้ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือด ถ้าม้ามพร่องจะมีเลือดออกง่าย มีจ้ำเลือด ใต้ผิวหนัง ประจำเดือนมาก
3. 脾气主升ลมปาณม้ามแผ่กระจายขึ้น บน ลำเลียงสารจำเป็นของเหลวไปยังปอด เพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่าง กาย ยึดเหนี่ยวอวัยวะให้อยู่ตำแหน่งปกติ
4. 在 体合肌肉、主四肢, 其华在唇ม้ามดูดซึมและส่งสารอาหารมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อและแขนขาให้ เจริญแข็งแรง รวมถึงริมฝีปากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อเช่นเดียวกัน
5. 脾开窍于口 ปากเป็นประตูของม้าม การรับประทานอาหาร การรับรู้รสชาติของอาหาร
6. สัมพันธ์กับกระเพาะอาหาร
ถ้าม้ามมีความผิดปกติจะเกิดอาการ อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร ท้องอืด ปวด ท้อง ท้องเดิน ขาดอาหาร ผอม อ่อนเพลีย ริมฝีปากซีด บวมหรือท้องมาน ลิ้นเป็นฝ้าหนา ดีซ่าน ปัสสาวะเป็นเลือด ตกเลือดหรือ ประจำเดือนมามากเกินไป มดลูกหย่อน ทวารหนักโผล่ หรือเกิดอาการหยางพร่อง คือจะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ชอบร้อน กลัวเย็น หน้าและริมฝีปาก ซีด ชีพจรอ่อน

ปอด หน้าที่ของปอดมีดังนี้คือ
1. 主气,司呼吸ควบคุมลมปราณ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ควบคุมการหายใจ
2. 主 宣发与肃降 ควบคุมการแผ่กระจายของลมปราณ โดยแผ่กระจายขึ้น กระจายออกข้างนอกลงล่าง ช่วยให้เลือดและลมปราณไหลเวียนพาสารอาหารและน้ำไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย และช่วยขับของเสียส่วนเกินต่างๆออกทางลมหายใจ ทางเหงื่อ และขับถ่ายของเสียออกทางทวาร
3. 通调水道ควบคุมการลำเลียงของเหลวใน ร่างกายให้เป้นไปอย่างสมดุลกัน
4. 在体合皮,其华在毛สัมพันธ์กับผิวหนังและ ขน การขับเหงื่อและการต่อต้านอิทธิพลจากภายนอก ความ ร้อน เย็น ชื้น ลม ต่างๆที่เป็นปัจจัยให้เกิดโรค
5. 在窍为鼻จมูกเป็นประตูของปอด เนื่องจากจมูกเป็นทางผ่าเข้าออกของลมหายใจ และรับกลิ่น
6. สัมพันธ์ กับลำไส้ใหญ่ พลังปอดเคลื่อนที่ลงล่างทำหน้าที่ช่วยลำไส้ใหญ่ขับถ่ายของ เสียและดูดซึมของเหลว ถ้าลำไส้ใหญ่เสียหน้าที่ ทำให้พลังปอดถูกขัด ขวาง ลงล่างไม่ได้จะเกิดอาการหอบหืด ถ้าปอดมีความผิดปกติจะเกิดอาการไอ หอบ ไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือดจากปอดร้อนหรือยินพร่อง อาการทางจมูกเป็น หวัด คัดจมูก เลือดกำเดาออก คันคอ หน้าบวม หนังตาบวม แขนขาบวม อาจ เกิดจากพลังปอดถูกขัดขวาง

ไต มีหน้าที่ดังนี้
1. 肾藏精,主人体的生长发育与生殖เก็บสารจำเป็นของชีวิต ทั้งด้านการกำเนิดชีวิต และการดำรง ชีวิต เกี่ยวกับการเผาผลาญ การสันดาปในร่างกาย (metabolism) จะหล่อเลี้ยงและไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ไต สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและการสืบพันธ์
2. 主水液ควบคุมการไหลเวียน และสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกาย น้ำเสียที่ไม่มีประโยชน์หรือมีมากเกินจะถูก ส่งไปที่กระเพาะปัสสาวะและขับออกไปเป็นปัสสาวะ ทำให้ม้ามลำเลียงของเหลวได้เป็นปกติ
3. 主纳气สัมพันธ์กับการหายใจของปอด ไตเป็นผู้รับลมปราณที่เคลื่อนที่ลงมาจากปอด ทำให้หายใจเข้าออกสะดวก มีจังหวะสม่ำเสมอ
4. 肾 主骨、生髓、通于脑,齿为骨之余,其华在发สารจำเป็นของไตสร้างสมองและ ไขสันหลัง เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน เลี้ยงบำรุงเส้นผม และขน ถ้าไตแข็งแรงจะทำให้พละกำลังดีและสมองเป็นปกติ
5. 开窍于耳及二 阴 หูเป็นประตูของไต เกี่ยวข้องกับการได้ยิน และยังเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบ พันธุ์ และการขับถ่ายปัสสาวะกับอุจจาระ
6. สัมพันธ์กับกระเพาะปัสสาวะ
ถ้า ไตผิดปกติจะมีอาการบวม คือการคั่งค้างของของเหลวในร่างกาย อุจจาระปัสสาวะ จากไตหยางพร่อง ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ท้องร่วง ไตยินพร่อง ทำให้ปัสสาวะน้อย ท้องผูก มีความผิดปกติของการสืบพันธ์เป็นหมัน น้ำอสุจิ เคลื่อน กามตายด้าน ปวดหลัง ปวดเอว เฉื่อย ซึม อ่อนเพลีย ขี้ ลืม เมื่อยเอว มือเท้าอ่อนไม่มีแรง อ่อนเปลี้ย ร้อนอุ้งมืออุ้งเท้า คอแห้ง

ถุงน้ำดี (胆) 胆 主决断มีหน้าที่เก็บน้ำดี ทำหน้าที่ร่วมกับตับ กำหนดการตัดสินใจ หมายถึง ความสามารถในจิตสำนึกในการตัดสินปัญหา ถุงน้ำดีจัดเป็นอวัยวะพิเศษโดยไม่ เชื่อมโยงกับภายนอกโดยตรง ถ้าถุงน้ำดีผิดปกติจะมีอาการดีซ่าน ผิว เหลือง ตาเหลือง มึนงง การรับรสในปากเลวลง ปวดสีข้าง อาเจียนเป็น น้ำดี โกรธง่าย หลับไม่สนิทและฝันร้าย หนาวๆร้อนๆ
ลำไส้เล็ก(小 肠) 小肠受盛化物,分别清浊รับอาหารบางส่วนผ่านจากกระเพาะอาหารมา แล้วส่งไปยัง ม้าม และส่งส่วนที่เหลือจากการย่อยไปยังลำไส้ใหญ่หรือกระเพาะปัสสาวะเพื่อ ขับถ่ายออกจากร่างกาย ถ้าลำไส้เล็กผิดปกติจะกระทบกระเทือนการลำเลียงของ เหลว จะเกิดอาการเบาขัดหรือท้องเสีย ลำไส้เล็กสัมพันธ์กับหัวใจ ถ้าไฟ หัวใจมากเกินไปทำให้มีเลือดออกในอุจจาระหรือปัสสาวะได้
กระเพาะอาหาร (胃) 胃 主受纳, 胃主降浊, 胃气主降ทำหน้าที่รับและย่อยอาหารต่างๆ จนได้”สารจำเป็น” มีความสัมพันธ์กับม้าม ถ้ากระเพาะอาหารมีความผิดปกติจะ มีอาการสะอึก หายใจเสียงดัง อาเจียน ท้องผูก
ลำไส้ใหญ่ (大 肠) 大肠主传导 หน้าที่คือรับสิ่งที่ผ่านการย่อยจากลำไส้เล็ก ดูดซึมและขับ ถ่าย ถ้าลำไส้ใหญ่ผิดปกติจะมีอาการท้องร่วง บิด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือท้องผูก
กระเพาะปัสสาวะ(膀 胱) 膀胱储存小便,排泄小便ทำหน้าที่รับและขับถ่ายปัสสาวะ โดยอาศัยไต ถ้ากระเพาะ ปัสสาวะถูกกระทบกระเทือนจะเกิดอาการปัสสาวะคั่ง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ถ่าย ปัสสาวะมาก เบาเป็นเลือด
ซานเจียว(三 焦) 三焦是对元气和水液运行通道, 对人体某些内脏功能系统的概括 เป็นทางผ่านของของเหลว จากส่วนบน ตั้งแต่ปอด หัวใจและหัว ลงมาส่วนกลางคือกระเพาะอาหารและม้าม ส่งต่อไปยัง ส่วนล่างคือตับ ไต และอวัยวะเพศ เพื่อขจัดของเสียออกจากร่างกาย เป็นแนว คิดหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์โรค