ตำรา ชิงอูจิง กลอนกลบทว่าด้วยการดู สุสาน และ ฮวงจุ้ย ทั้งหมด

ท่าน-ชิงอู-ปรมาจารย์ฮวงจุ้ย

ท่าน-ชิงอู-ปรมาจารย์ฮวงจุ้ย

 

วันนี้นำเสนอ ตำรา ชิงอูจิง กลอนกลบทว่าด้วยการดูสุสานและฮวงจุ้ยทั้งหมด จริงๆวิชาฮวงจุ้ยมีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า ชิงอู เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อเรียกวิชาที่ดูลมฟ้าอากาศฟ้าดิน หรือวิชาฮวงจุ้ยนี้เอง เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ชิงอูจื่อ ซึ่งมีหลายตำนานว่าเขามีชีวิตอยู่หลายสมัย เช่นบางตำนานบอกว่า มีชีวิตในสมัยราชวงศ์ฮั่น บ้างก็ว่าสมัยราชวงศ์ซางโจว  แต่ที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดคือบอกว่า เป็นที่ปรึกษาทางฮวงจุ้ยให้กับกษัตริย์หวงตี้ ยุคก่อนที่จีนจะรวมแผ่นดินกันเสียอีก 《抱朴子内篇》 โดยเก๋อหง สมัยราชวงศ์จิ้น กล่าวเอาไว้ว่า หวงตี้….ดูชัยภูมิตี่ลี่ลมฟ้าอากาศฮวงจุ้ยจำต้องฟังความจากท่าน ชิงอู  สมัยตงฮั่น บันทึกในตำรา ฟงสูทง กล่าวว่า  อันสมัยฮั้นนั้นมีปราชญ์ชื่อ ชิงอู เลื่องชื่อลือนามในวิชาการจัดสุสานยิ่งนักฯ ชิงอู เลยเป็นคนที่มีประวัติในตำรามากมายยืนยันเอาไว้ว่าเป็นนักฮวงจุ้ยคนแรกของจีน

ด้านล่างเป็นภาษาจีนเกริ่นนำเล็กน้อย ยกประโยชน์ให้คนที่อ่านเขียนภาษาจีนเป็นก็แล้วกันครับ นี่แปลเอาไว้พอหอมปากหอมคอ เพราะเนื่องจากสำนักสารพัดฮวงจุ้ยในไทย ต่างกล่าวว่าตนเป็นสำนักโบราณ สำนักชั้นหนึ่ง สำนักที่มีที่มายาวนาน มีประวัติศาสตร์มากมาย แต่ผมไม่เคยเห็นใครสืบสาวประวัติตนเองยาวไปถึง ท่านชิงอูได้ โดยเฉพาะนักฮวงจุ้ยที่ถนัดเรื่องดูที่สร้างสุสาน หลุมศพ ไม่ว่าจะเป็นหลุมศพคนตาย หรือการทำแซกี ก็ไม่เคยกล่าวถึง ชิงอูเลย หรือแม้กระทั่ง ชิงอูจิง ตำรากลบทพื้นในการจะดูที่ทางฮวงจุ้ยหรือสุสาน ก็เลยเป็นที่น่าฉงนสงสัยแต่ก็ละเอาไว้ในใจ วันนี้ได้แต่เอาความในกลบทกลอนนั้นมาเผยแพร่ให้อ่าน แต่ก็ไม่มีปัญญาอาจเอื้อมจะแปลเป็นภาษาไทยได้ทั้งหมด เพราะหลายอันเป็นสำนวนเก่าจีนโบราณ เกรงจะแปลความคาดเคลื่อนไป หวังว่าจะได้ผู้รู้ที่มีความรู้ความสามารรถทางภาษาจีนได้มาช่วยแปลให้ครบกระบวนความ

《青乌经》为风水第一奇书,主要讲风水堪舆寻龙之术,历史上影响巨大,以致“青乌术”也成了风水学的另一名称。
传说“青乌”原本是中古代堪舆家的名字,叫“青乌子”,商周时期人。

《列仙全传》载:“有青乌公者,彭祖之弟子也。身受明师之教,精审仙妙之理,乃入华阴山中学道,积四百七十一岁,十二试之,有三不过。后服金液而升天。”青乌子后来创立了风水之术,认为祖先坟墓位置的选择会影响子孙后代的命运。因此,青乌子被认为是中国第一个风水先生,风水堪舆行中的人也把青乌公奉为祖师,而堪舆术也由此称作“青乌之术”。

有说青乌子是秦国的樗里子,据【史记·索隐】甘茂居渭南阴乡之樗里,号樗里子。但又说甘茂是战国中期秦国名将,下蔡(今安徽凤台)人。曾就学于史举,学百家之说,经张仪、樗里疾引荐于秦惠文王。仅一字之差,其中“樗里疾”是否就是“樗里子”之误呢?此说存疑。

也有说青乌子或为汉时人的。在《青乌序》中,就认为青乌子是汉时人。

反正古代风水史话很多,很难考证哪个说法更准确。考究无结果,最后只能说是史失其名了。

今传《青乌经》是以四言歌诀的形式写作,很可能就是《宋史·艺文志》著录的《青乌子歌诀》。它是古人对环境认识的经验总结,反映了古人对宇宙自然规律的一种认识,属于非物质文化遗产的范畴。

《青烏經》上篇
盤古渾淪,氣萌太朴;分陰分陽、為清為濁。
生老病死、誰實主之?
無其始也,無其議焉。不能無也,吉凶形焉。
曷如其無,何惡於有?藏於杳冥,實關休咎。
以言諭之,似若非是。其於末也,一無外此。
其若可忽,何假於予?辭之痝矣,理無越斯。
山川融結,峙流不絕;雙眸若無,烏乎其別?
福厚之地,雍容不迫。四合週顧,辨其主客。
山欲其凝,水欲其澄。
山來水迴,逼貴豐財;山止水流,虜王囚侯。
山頓水曲,子孫千億;山走水直,從人寄食。
水過東西,財寶無窮;三橫四直,官職彌崇。
九曲委蛇,準擬沙堤;重重交鎖,極品官資。
氣乘風散,脈遇水止;藏隱蜿蜒,富貴之地。
知其所散,故官不出;就其所止,裁穴有定。
不畜之穴,是謂腐骨,不及之穴,主人絕滅。
騰漏之穴,翻棺敗槨,背囚之穴,寒泉滴瀝。
其為可畏,可不慎乎?
百年幻化,離形歸真;精神入門,骨骸反根;
吉氣感應,鬼神及人。東山起焰,西山起雲;
穴吉而溫,富貴綿延;其或反是,子孫孤貧。
童斷與石,過獨偪側;能生新凶,能消已福。
貴氣相資,本源不脫。前後區衛,有主有客。
水流不行,外狹內闊。大地平洋,杳茫莫測;
沼沚池湖,真龍憩息;情當內求,慎勿外覓。
形勢彎趨,生享用福。
勢止形昂,前澗後岡,位至侯王。
形止勢縮,前案回曲,金穀碧玉。
山隨水著,迢迢來路,挹而注之,穴須回顧。
天光下臨,百川同歸,真龍所泊,孰辨玄微?
蝦蟆老蚌,市井人煙,隱隱隆隆,孰探其源?
《青烏經》下篇
若乃
斷而復續,去而復留,奇形異相,千金難求;折藕貫絲,真機莫落。
臨穴坦然,形難捫度,障空補缺,天造地設;留與至人,前賢難說。
草木鬱茂,吉氣相隨;內外表裡,或然或為。
三岡全氣,八方會勢,前遮後擁,諸祥畢至。
地貴平夷,土貴有支,穴取安止,水取迢遞。
向定陰陽,切莫乖戾,差之毫釐,謬以千里。
擇術之善,建都立縣,一或非宜,立主貧賤。
公侯之地,龍馬騰起;面對玉圭,小而首銳;更過本方,不學而至。
宰相之地,繡敦伊邇,大水洋朝,無極之貴。空闊平夷,生氣秀麗。
外臺之地,捍門高峙;屯軍排迎,周迴數里;
筆大橫椽,足判生死。此昂彼低,誠難推擬。
官貴之地,文章插耳,魚袋雙連。
庚金之位,南火東木,北水鄙技。
地有佳氣,隨土所生;山有吉氣,因方而止。
文士之地,筆尖而細;諸水不隨,虛馳名譽。
大富之地,圓峰金櫃;貝寶沓來,如川之至;小秀清貴,圓重富厚。
貧賤之地,亂如散錢;達人大觀,如示諸指。幽陰之宮,神靈所主。
葬不斬草,名曰盜葬。葬及祖墳,殃及子孫。一墳榮盛,十墳孤貧。
穴吉葬凶,與棄屍同。
陰陽合符,天地交通。
內氣萌生,外氣成形;內外相乘,風水自成。
察以眼界,會以情性;若能悟此,天下橫行。

 

ภาพจาก  wapbaike.baidu.com/image/43a7d933c895d143aeb1373471f082025baf07e5?uid=57A95F5B7AB24808880165D5B2485FE3&bd_page_type=1&st=4&step=4&net=0&lemmaid=2105080&sublemmaid=2105080&viewpage=0&bk_fr=bk_view

ลองดูนะว่า วิริยะอุตสาหผมมันจะไปจบลงวันไหน ก็จะแปลให้อ่านเรื่อยๆ (แต่ละ บรรทัดที่เว้นบรรทัดไว้ คือ แต่ละวรรค(สี่คำของจีน))
盤古渾淪,氣萌太朴;分陰分陽、為清為濁。
生老病死、誰實主之
ผานกู่(เทวนิยายจีน ว่าเป็นคนๆแรกที่ทำการเบิกฟ้าเบิกดิน ทำให้เกิดโลกขึ้นมา เดียวเอาไว้เล่ายาวๆให้ฟัง)
ผานกู่เดิมนั้นถือกำเนิดจากสภาวะที่วุ่นวายผสมผเสปนเปของพลังงานคล้ายๆใข่ไก่ มีนอกมีใน แล้วก็ได้ก่อเกิดขึ้นมา อันนี้ต้องไปศึกษาตำนานสร้างโลกของจีนเอา
ชี่ก็ค่อยมีขึ้นเกิดขึ้น และค่อยๆก่อกำเนิดจากจุดเริ่มต้น ดำเนินสายไปตามมรรคาของชี่
จึ่งแบ่งเป็นยิน แบ่งเป็นหยาง
ด้วยเหตุฉะนั้น ได้เป็นสภาวะสว่าง และสภาวะมัวขมุก
เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ใครนั้นทราบได้ ใครนั้นบัญชา ใครนั้นกำหนด