วิชาโหราศาสตร์จีนขั้นสูง

อี้จิง มีอยู่ 2 แนว(หลักใหญ่) แต่ล้วนมาจากจุดเริ่มเดียวกัน

อี้จิง

หลังซินแสหลัว (Sinsae Lou)บรรยาย ในวันงาน อาทิตย์25 มกราคม 2558ที่ผ่านมา
ก็มีหลายท่าน ต้องการหนังสือ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับอี้จิงมากมาย
ทั้งเอกสาร และไฟล์ แต่…….เดี๊ยวก่อน

ท่านรู้ไหมว่า อี้จิง มีอยู่ 2 แนว(หลักใหญ่) แต่ล้วนมาจากจุดเริ่มเดียวกัน
ดังนี้ท่านที่เคยอ่านมามากแล้วย่อมจะรู้ดีว่า ท่านศึกษาเพื่อสิ่งใด…

คงไม่ขออธิบายจุดกำเนิด เพราะผมคาดว่าในงานคงได้บรรยายไปบ้างแล้วจาก
หกฮี – ฝูชี(伏羲) / จิวบุ่งอ้วง – โจวเหวินอ๋อง(周文王) / ขงจือ 孔子
ทั้ง3บุคคลล้วนพัฒนา ทุ่มเทกับ อี้จิง (แต้จิ๋ว ออกเสียงว่า เอียะเกีย หรือ จิวเอียะ)

จาก ก่อนฟ้า (สิ่งตรงข้ามกัน ธรรมชาติที่ยังไม่ปรุงแต่ง)
มาสู่ หลังฟ้า (ความสัมพันธิ์ที่ต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ)
จนถึง หลักปรัชญา ดำเนินชีวิต (เต๋า หรือ วิถี)และการปกครอง

โดยส่วนตัวผม ไม่ทราบจริงๆ ว่า ในกลุ่มนี้ ต้องการศึกษา
เกี่ยวกับ “อี้จิง” เพื่ออะไร! เพราะแนวทางของ “อี้จิง”
ที่หลงไหลกันอยู่ นั้นมีมากมายต่างกัน

มาแยกกันก่อน ว่าท่านจะศึกษาเพื่อ:
1. การทำนาย เสี่ยงทาย (象數)
2. เชิงปรัชญา การดำเนินชีวิต ตามวิถีแห่ง เต๋า.(義理)
3. ….

จุดหลักใหญ่ ที่ได้กล่าวไปแล้ว ว่า อี้จิง สร้างจากธรรมชาติ
วิถีธรรมชาติ สร้างความเปลี่ยนแปลง และเพื่อให้สอดคล้อง
กับการใช้ชีวิตประจำวัน จึงต้องดำเนินตาม วิถีธรรมชาติ

การเสี่ยงทาย เป็นการนำเอาธรรมชาติเป็นสื่อกลาง แห่งห่วงเวลา
และทำการถอดความ หรือขยายความ จากการเปลี่ยนแปลงแห่งธรรมชาติ โดยผู้พัฒนารูปแบบก่อนฟ้า(เนื่องจากอีก 2 คำภีร์ ได้หายสาปสูญไป คือ เหนี่ยซัว-連山 และ กุยจั้ง-歸藏) จนมาเป็น จิวเอียะ คือ จิวบุ่งอ้วง นั้นเอง ที่ทำให้เกิดคำทำนายกระชับ สั้น แต่ต้องตีความ แบบดั้งเดิม จึงได้มีคำว่า “周易” อี้จิงของโจวอ๋อง

นี้คือเหตุผล ว่าหากท่านที่ต้องการ แนวเสี่ยงทายหรือทำนายควรศึกษา
ฉบับ นี้ เนื่องจากเป็นการทำนาย โดยเฉพาะ…แต่…….ด้วยเนื้อหาที่สั้น
กระชับ ทำให้ต้องตีความ โดยอ้างอิงธรรมชาติมากมาย…จากหลายๆบท จะมีทั้งการอ้างอิงถึง สรรพสัตว์ และธรรมชาติทั้งหลาย ที่นำมาเปรียบเทียบกับการกระทำ และอีกหลายเรื่องราว บ่งบอก ดี ร้าย แต่ขาดรายละเอียดปลีกย่อย

จนกระทั่ง เกิดการขยายและตีความขึ้นมา เรื่อยๆ จนถึงยุคที่มีผู้มีความสามารถ ใช้หลักปรัชญาแห่งเต๋า ของเหล่าจือ
แปลคำทำนาย เพื่อสอดประสาน กับวิถีชีวิต จนเป็นหลักปรัชญาในอี้จิง ที่ขยายความขึ้นมาอีกมาก และนี่ก็คือ ฉบับขยายความ ในปัจจุบัน

แล้วควรอ่านเล่มไหนดี…
ถ้าเป็นไปได้ (ด้านภาษาจีนนั้นสำคัญมาก) เน้นไปที่ คำดั้งเดิม-原文
แล้วค่อยอ่านตีความขยาย จากหลายเล่ม หรือบทขยาย

ผมขอออกตัวก่อนเลยว่า ผมไม่เก่งด้านภาษาจีน และผมก็เน้นเรื่องการทำนาย เป็นหลัก จึงขอแนะนำ ส่วนของ
ปรมาจารย์เส้า คัง เจี่ย (เส้า หยง) บ่วยฮวยเอียะ – 梅花易
ประกอบไปด้วย เพื่อการทำนายพิสดาร…

อี้จิง… นี้ยังสามารถแตกแขนง ไปทางสายอื่นอีกมาก
ไม่ว่า แพทย์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าท่าน
จะศึกษาและนำไปประยุกต์กับอะไร….

เมื่อถึงจุดหนึ่ง ท่านก็จะทราบโดยอัตโนมัติว่า ศาสตร์แห่งอี้จิง
สอดประสานกับทุกสิ่งบนโลก เป็นวิถีชีวิตที่ไม่อาจแยกจากลมหายใจ
มนุษย์ (ฟ้ามนุษย์เป็นหนึ่งเดียว-天人合一 ) เฉกเช่นวิถีแห่งเต๋าก็ว่าได้
ก็ขอให้ทุกท่านศึกษาอย่างมีเป้าหมาย จะได้ไม่วกวน จะได้ไม่เสียเวลา…

จะด้านเสี่ยงทายก็ดี ด้านปรัชญาก็ดี ล้วนแต่มีคุณค่าแก่การศึกษาทั้งสิ้น…

หากมีข้อมูลใดๆ ผิดพลาดโปรดชี้แนะ .. Woody Yang

อ้างอิงที่มา  กลุ่มโหราศาสตร์จีน ฯ ในเฟสบุ๊ค
ผู้แต่ง เฮีย Woody Yang